มาตรฐานที่ ๑ ด้านคุณภาพผู้เรียน
ผลการเรียนรู้ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ประกอบด้วยความสามารถใน การอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่างๆ การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร การมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม
๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
ประเด็นพิจารณา | ผู้รับผิดชอบ | ค่าเป้าหมาย | ผลการประเมิน | ร่องรอย/หลักฐาน/เครื่องมือ |
๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ | นางสาวสุวดี นาสวัสดิ์ นางจรินพรรณ กลิ่นหอม และนายชาคริต แจ่มศรี | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. สมุดพัฒนาสมรรถนะการอ่าน 2. แบบประเมินสมรรถนะการอ่าน 3. ใบความรู้พัฒนาทักษะสมรรถนะการอ่าน 4. แบบสรุปผลการประเมินสมรรถนะการอ่าน 5. ชุดฝึกอัจฉริยภาพหมอภาษา (E-book) 6. แบบประเมินการอ่านออกเสียงบทอ่าน 7. แบบสรุปผลการดำเนินกิจกรรมหมอภาษาบดินทรเดชาพัฒนาเยาวชน 8. วิดีโอคลิปการอ่านออกเสียงของนักเรียน 9. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ 1-6 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6) 10. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด 1-6 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) 11. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1-6 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) 12. แบบทดสอบ 13. ใบงาน /แบบฝึกหัด |
๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา | นางสุภาพร ขาวพิมพ์ | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. แบบประเมินโครงงาน PBL ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 2. นวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์/ชิ้นงาน/รายงาน/โครงการ/โครงงาน 3. รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) |
๓) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม | นางสาวหฤทย์ อันไธสง | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. ตารางแสดงจำนวนโครงงาน PBL ของผู้เรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 2. ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่ผ่านการประเมินความสามารถในการสร้างชิ้นงาน นวัตกรรม 3. ตารางแสดงจำนวนผลการเรียนในรายวิชา IS ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4 4. ตัวอย่างนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์/ชิ้นงาน/รายงาน/โครงการ/โครงงาน |
๔) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | นายสหัสส์ชัย พุ่มบานเย็น | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. ผลการประเมินความเข้าใจดิจิทัล 2. รายงานผลการดำเนินการกิจกรรมการเรียนรู้สู่โครงงาน (PBL) 3. ตัวอย่างโครงงาน PBL 4. สถิติการใช้งาน DLIT 5. ชิ้นงาน โล่ รางวัล เกียรติบัตร |
๕) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา | นางสาววันรวี ศักดิ์เมือง | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. แบบรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล : ปพ6 ปีการศึกษา 2565 2. สถิติผลการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล ปีการศึกษา 2565 |
๖) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ | นางสาวชุติภรณ์ พัดเอี่ยม | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. ข้อมูลสถิติการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2565 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 2. ข้อมูลสถิติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ระดับชั้น ม.1, ม.2, ม.3, ม.4 และม.6 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้น ม.5 ปีการศึกษา 2563-2565 3. กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนผู้เรียนทางด้านการศึกษาและอาชีพ 4. ผลงานผู้เรียน |
๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ประเด็นพิจารณา | ผู้รับผิดชอบ | ค่าเป้าหมาย | ผลการประเมิน | ร่องรอย/หลักฐาน/เครื่องมือ |
๑) มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด | นางวชิรา ศุภรภิญโญภาพกุล | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. แฟ้มสรุปโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 2. แฟ้มสรุปโครงการสอบธรรมศึกษา ประจำปี 2565 3. สรุปรายงานการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4. แฟ้มสรุปกิจกรรมการเรียนรู้สู่โครงงาน (PBL) 5. แผนการจัดการเรียนรู้ 6. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 7. หลักสูตรเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 8. การบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา – กิจกรรมวันลอยกระทงสานศิลป์ แดนบดินทรถิ่นวัฒนธรรม – กิจกรรมวันสุนทรภู่และวันภาษาไทย – พิธีมุทิตา คารวะครูด้วยดวงใจ – พิธีไหว้ครูนาฎศิลป์-ดนตรี – โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School |
๒) มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย | นายธัชชา เทศน์ธรรม | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน รายวิชาศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 2. แผนการจัดการเรียนรู้ 3. หลักสูตรเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4. แบบประเมินความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 5. ผลงานของผู้เรียน 6. ภาพถ่ายประกอบโครงการ/กิจกรรม |
๓) ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย | นางสาวษมาภรณ์ ศรีใสคำ | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL) 2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2.1 กิจกรรมลูกเสือ 2.2 เนตรนารี 2.3 ยุวกาชาด 2.4 ชุมนุมวิชาการ 2.5 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ 2.6 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสาธารณะ 2.7 นักศึกษาวิชาทหาร 3. การเลือกตั้งประธานคณะสีและประธานนักเรียน 4. มหกรรมมหกรรมกีฬา ดนตรี ศิลปะและวัฒนธรรม “นิลุบลเกม” ครั้งที่ 40 5. กิจกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียน (กิจกรรมทัศนศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6) |
๔) มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม | นายนิพน แจ่มแจ้ง | ยอดเยี่ยม | ยอดเยี่ยม | 1. โครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน (พัฒนาสมรรถภาพทางกาย) 2. แบบประเมินสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ 3. ข้อมูลสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของผู้เรียนทุกระดับ 4. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของผู้เรียนทุกระดับ 3 ปีการศึกษา 5. แบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขของผู้เรียนทุกระดับชั้น 6. สถิติการยืมคืน อุปกรณ์กีฬา 7. ภาพสถานที่ในการส่งเสริม พัฒนาสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพ 8. ภาพการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 9. แผนการจัดการเรียนรู้ 10. ภาพการฝึกซ้อมเพื่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย 11. ภาพการจัดการเรียนการสอนและที่เน้นการพัฒนาสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและการประเมินภาวะทาง อารมณ์ 12. ผลการประเมินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ |
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
เป็นการจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาในทุกกลุ่มเป้าหมาย จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำผลที่ได้มาให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้